วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ผลไม้ไทย

 
ผลไม้.......ยาจากธรรมชาติ
 
วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายเราได้รับจากการกินผลไม้เข้าไปทุกว้น  เปรียบเหมือนสารหล่อลื่น
ที่ทำให้เครืืองยนต์  หรือ  กระบวนการต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ
 
นอกจากนั้น  ผลไม้ทุกชนิดยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารพฤกษเคมีสำคัญ
หลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ ( Antioxidant )
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ  อีกทั้งยังช่วยชะลอความชราได้อีกด้วย
 
 
"บ้านเราเป็นประเทศที่โชคดีทีเดียว  มีผลไม้มากมายหลายชนิดให้เลือกซื้อรับประทาน
แทบทุกฤดูกาลจากทุกภูมิภาคเลยก็ว่าได้  นี่ยังไม่รวมแอ๊ปเปิ้ลเมืองจีน  องุ่นแดงแคลิฟอร์เนีย
และผลไม้อิมพอร์ตทั้งหลาย
 
"พอเรามีตัวเลือกมากขึ้น  หลายคนจึงหลงลืมผลไม้สัญชาติไทยในสวนหลังบ้านอย่าง
มะเฟือง   ทับทิม   มะยม   มะขามป้อม   ไปเสียถนัดใจ  ทั้งที่ผลไม้เหล่านี้มีสรรพคุณทางยาที่
เราสามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย และหาได้ใกล้ตัว "
ผลไม้ไทย........ยาใกล้ตัว
1
มะเฟือง ( Starfruit )
     
นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ
มะเฟื่องสุก ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี  วิตามินเอ  ฟอสฟอรัส  และแคลเซี่ยม ช่วยรักษาอาการ
เลือดออกตามไรฟัน  เป็นยาระบายแ้ก้ท้องผูก  ช่วยขับเสมหะได้
 
 
 
ในด้านสมุนไพร   เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ  ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้
 
ผล    คั้นเอาแต่น้ำดื่ม  จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ  ไข้หวัด   บรรเทาอาการนิ่ว
ในทางเดินปัสสาวะ  ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
 
 
ช่วยลดอาการร้อนใน   ช่วยขจัดรังแค  นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟื่องยังใช้ลบ
รอยเปื้อนบนมือ   เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ  ไ้ด้ดีอีกด้วย
 
 
ใบ   นำมาต้มผสมกับน้ำ  กินแก้ไข้   ขับปัสสาวะ  ขับระดู  หรือหากนำมาบดให้ละเีอียด
พอกบนผิวหนัง  จะช่วยลดอาการอักเสบ  ช้ำบวบ  แก้ผื่นคัน   กลากเกลื้อน  และอีสุกอีใส
 
 
ราก   มีฤทธิ์เป็นยาเย็น  ต้มกับน้ำ่ช่วยดับพิษร้อน   แำก้อาการปวดศรีษะ 
ปวดตามข้อต่างๆ  ในร่างกาย   ปวดแสบในกระเพาะอาหาร  แก้อาการท้องร่วง  
 
 
ดอก   นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ
 
สูตรยารักษาผิวหนังจากมะเฟือง
การรักษา
ส่วนที่ใช้
วิธีใช้
แก้กลากเกลื้อนใบและดอกมะเฟื่องตำใบสด   ยอดอ่อน  หรือดอก
อีสุกอีใส ให้ละเอียด  แล้วพอกแผล
และผื่นคัน  
ข้อควรระวัง
 ผลมะเฟื่องมีกรดออกชาติกอยู่ค่อนข้างสูง  ดังนั้น  จึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป
เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้   อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน   เพราะ จะทำให้รู้สึกปวดท้อง
สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก  เพราะจะทำให้แท้ได้
 
 
ส้มโอ ( Pomelo )
 ในส้มโอมีสารเพกทิน ( Pectin ) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
อีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น ส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษ
อีกประการหนึ่ง คือ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย
 
 ใบ    ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวม หรือ
ปวดศรีษะได้
 เปลือกผล   เปลือกผลของส้มโอ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด   ใช้เป็นยาขับลม
ขับเสมหะ   แก้ท้องอืด  แน่นหน้าอก   ไอ   สามารถใช้เปลือกผลตำพอกฝี   และใช้จุดไฟไล่ยุงได้
หรือ หากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทา
อาการของโรคหืดได้
 เมล็ด   ของส้มโอมีสรรพคุณ  ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารลดอาการปวดบวมของ
ผิวหนัง  และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอไ้ด้อีกด้วย
 ผล      ช่วยเจริญอาหาร   หากรับประทานเนื้อส้มโอหลังอาหาร  จะช่วยให้ระบบย่อย
อาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สูตรยาจากส้มโอ
การรักษา
ส่วนที่ใช้
วิธีใช้
รักษาฝีเปลือกผลแก่ของส้มโอ-ตำเปลือกผลแก่ให้ละเอียด  ใช้พอกบริเวณที่
  เป็นฝี วันละ 2 - 3 ครั้ง  หัวฝีจะหลุด
   
แก้อาการอาหารไม่ย่อยเปลือกผลแก่ของส้มโอ- นำเปลือกผลแก่ไปตากแดดให้แห้ง จากนั้น
  ใช้ 10 กรัม ไปต้มรวมกับลูกเร่วแห้ง 10 กรัม
  ใบกระเพาะอาหารไก่ 1 ใบ ผักคาวทองสด
  15 กรัม ผงยีสต์แห้ง 1 ช้อนชา รับประทาน
  หลังอาหาร จะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  เนื่องจากอาหารไม่ย่อย
    
  
    
 
   
    
 
   

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การนั่งสมาธิ


Image 

สงบจิตด้วยการนั่งสมาธิ 
โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท 

วัดหนองป่าพง 
ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 



ปฏิบัติทำไมมันถึงยากถึงลำบาก เพราะว่ามันอยาก พอไปนั่งสมาธิปุ๊บก็ตั้งใจว่าอยากจะให้มันสงบ ถ้าไม่มีความอยากให้สงบก็ไม่นั่งไม่ทำอะไร พอเราไปนั่งก็อยากให้มันสงบ เมื่ออยากให้มันสงบ ตัววุ่นวายก็เกิดขึ้นมาอีก ก็เห็นสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายใจอีกแล้ว นี่มันเป็นอย่างนี้ 

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าพูดให้เป็นตัณหา อย่ายืนให้เป็นตัณหา อย่านั่งให้เป็นตัณหา อย่านอนให้เป็นตัณหา อย่าเดินให้เป็นตัณหา ทุกประการนั้นอย่าให้เป็นตัณหา ตัณหาแปลว่าความอยาก ถ้าไม่อยากจะทำอะไรเราก็ไม่ได้ทำ อันนั้นปัญญาของเราไม่ถึง ทีนี้มันก็เลยอู้เสีย ปฏิบัติไปไม่รู้จะทำอย่างไร พอไปนั่งสมาธิปุ๊บ ก็ตั้งความอยากไว้แล้ว 

อย่างพวกเราที่มาปฏิบัติอยู่ในป่านี้ ทุกคนต้องอยากมาใช่ไหม นี่จึงได้มา อยากมาปฏิบัติที่นี้ มาปฏิบัตินี่ก็อยากให้มันสงบ อยากให้มันสงบก็เรียกว่าปฏิบัติเพราะความอยาก มาก็มาด้วยความอยาก ปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความอยาก เมื่อมาปฏิบัติแล้วมันจึงขวางกัน ถ้าไม่อยากก็ไม่ได้ทำ จึงเป็นอยู่อย่างนี้ จะทำอย่างไรกับมันล่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความที่1

ข้าพเจ้าได้ศึกษาการทำบล็อกเรียบร้อยแล้ว